ในพาร์ทที่ 1 ของคอนเทนต์นี้เรามาทำความรู้จักและคุ้นเคยกับอุปกรณ์วัดพลังงานหรือ “Power Meter” เพื่อให้คุณนั้นสามารถเริ่มใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การที่จะใช้งานนั้นต้องใช้ควบคู่กับอุปกรณ์อื่นๆ ด้วย เพราะว่าพาวเวอร์มิเตอร์นั้นไม่ใช่เวทมนต์ที่จะทำให้คุณปั่นจักรยานได้ดีขึ้นทันตาเห็น ฮ่าๆ การฝึกฝนด้วยพาวเวอร์มิเตอร์นั้นแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ตัวบุคคล แต่ทั้งหมดทั้งมวลคุณจะต้องมีการปรับแต่งอุปกรณ์และเรียนรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ของคุณเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน Power Meter เพราะมันเป็นอุปกรณ์ที่ค่อนข้างมีความซับซ้อนนิดหน่อย ซึ่งคุณสามารถทำความเข้าใจได้จากการอ่านคอนเทนต์เรื่องพาวเวอร์มิเตอร์ที่เราทำมาก่อนหน้านี้ครับ

จะเกิดอะไรขึ้นกับขาจานของคุณเมื่อคุณเริ่มใช้ขาจานพาวเวอร์มิเตอร์? ก่อนที่คุณจะจริงจังกับการปั่นจักรยานโดยใช้พาวเวอร์มิเตอร์ ให้คุณลองใช้เวลา 7 ถึง 10 วันในการปั่นจักรยานกับพาวเวอร์มิเตอร์ของคุณเพื่อทำความคุ้นเคยกับมัน ซึ่งในช่วงเวลานั้นให้ฝึกฝนตามปกติเหมือนตอนที่คุณยังไม่ได้เริ่มใช้งานมัน หากคุณใช้อัตราการเต้นของหัวใจ หรือ การออกแรง ในการสร้างการรับรู้ความหนักหน่วงของการปั่นจักรยาน ให้คุณทำเช่นนั้นต่อไป เพราะว่านั่นจะทำให้คุณมีเวลาคิดรวบรวมข้อมูลต่างๆ ของคุณเพื่อมมาประยุกต์ใช้กับค่าพลังงานที่ได้จาก Power meter มันจะช่วยให้คุณรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างพลังงาน อัตราการเต้นของหัวใจ การกำหนดความหนักหน่วงในการฝึกซ้อมด้วยตนเอง (RPE) และความเร็ว ได้อย่างดี เพียงฝึกซ้อมไปตามปกติและคอยสังเกตค่าพลังงานหรือค่าวัตต์ที่ได้จาก Power Meter ไว้ให้ดี

หลังจากปั่นจักรยานทุกครั้งให้ดาวน์โหลดข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ของคุณและดูกราฟแผนภูมิ แต่ยังไม่จำเป็นต้องเริ่มทำการวิเคราะห์เชิงลึกในตอนนี้ ต้องค่อยๆ ไปทีละขั้นตอน เราดูแค่เบื้องต้นครับเพราะสำหรับตอนนี้เพียงแค่ต้องทำความคุ้นเคยกับเลย์เอาต์และค่าต่างๆ ภายในนั้น และดูว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างกับการปั่นจักรยานด้วยพาวเวอร์มิเตอร์ตลอดทั้งเส้นทางการปั่นที่มีความยากง่าย มีช่วงทางราบที่ทำความเร็วได้ดี ช่วงไต่เขาลงเขา หรือ ในระหว่างที่คุณเกาะในกลุ่ม หลังจากผ่านไปประมาณหนึ่งสัปดาห์คุณจะรู้ได้เลยว่ามีค่าอะไรช่วงไหนเป็นอย่างไรบ้างแล้วคุณจะพร้อมสำหรับการปรับเปลี่ยนและวางแผนการฝึกซ้อมและการวิเคราะห์เชิงลึกตามสิ่งที่คุณเห็นบนหน้าจอนั้น

ในช่วงแรกสำหรับการเริ่มต้นนั้นจะเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานหรือค่าวัตต์ของคุณที่สามารถเห็นได้จากไมล์จักรยานเป็นหน่วย W มันสื่อให้เห็นได้ว่าคุณใช้แรงมากน้อยเพียงใดเพื่อวัดแรงที่คุณใช้ออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงขณะการปั่นจักรยาน เช่นเดียวกันกับที่คุณดูอัตราการเต้นของหัวใจคุณจะรู้ได้ว่าคุณออกแรงมากน้อยเพียงใดแล้วหัวใจของคุณทำงานหนักขึ้นเพียงใดมันก็สามารถบอกถึงความหนักหน่วงในแต่ละช่วงของการออกกำลังกาย เมื่อคุณทำความคุ้นเคยกับความแตกต่างของค่าต่างๆ ในการฝึกฝนที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นด้วยพาวเวอร์มิเตอร์คุณจะสามารถทำการเปลี่ยนแปลงแผนการซ้อมต่างๆ และช่วยให้คุณนั้นเฉลี่ยแรง รู้ว่าตัวเองใช้แรงได้ขนาดไหนในช่วงไหน รู้ข้อจำกัดในแต่ละประเภทเส้นทางที่ปั่น และก้าวข้ามข้อจำกัดไปได้ด้วยการวางแผนในการใช้แรง

ท้ายสุดแล้วคุณจะปั่นได้มีประสิทธิภาพขึ้นได้อย่างน่าทึ่ง เมื่อคุณจะมองไปที่ตัวเลขที่แสดงค่าพลังงานหรือวัตต์เพื่อตรวจสอบว่าคุณกำลังปั่นอย่างหนักหน่วงแค่ไหน ในตอนแรกนั้นคุณจะมีความคุ้นเคยและรับรู้ได้ด้วยตัวเองถ้าคุณเคยดูอัตราการเต้นของหัวใจหรือปั่นแบบกำหนดความหนักหน่วง (RPE) คุณจะรู้ได้ว่าคุณกำลังปั่นอยู่ในจุดที่คุณไหวแค่ไหนหรืออยู่ในจุดที่จะถึงขีดจำกัดของคุณแล้วหรือยังดูได้จากค่าวัตต์ที่แสดงบนหน้าจอไมล์ ตัวคุณจะเริ่มเกิดการเปลี่ยนและรู้ได้ว่าตัวคุณเองนั้นควรปั่นให้เบาลงหรือหนักขึ้นอยู่ในค่าวัตต์เท่าใดถึงจะผ่านเส้นทางนี้ไปได้โดยที่คุณยังเหลือพลังไว้สำหรับปั่นในด่านต่อไป

ขั้นตอนแรกคือการทำความเข้าใจกับตัวเลขที่แสดงบนไมล์จักรยานและตั้งค่าการแสดงผลบนหน้าจอให้เรียบร้อย ซึ่งเราจะเรียกไมล์ว่า “เฮดยูนิต” สิ่งที่คุณเห็นปรากฏในหน้าจอขึ้นอยู่กับประเภทพาวเวอร์มิเตอร์ที่คุณมีด้วยว่าเป็นเช่นไร วัดค่าอะไรได้บ้าง โดยส่วนใหญ่ในปัจจุบันพาวเวอร์มิเตอร์จะมาในรูปแบบไร้สายและมีทางเลือกให้สามารถเชื่อมต่อเพิ่มเติมสำหรับเฮดยูนิตได้ เช่น ANT+ มันกลายเป็นมาตรฐานสำหรับขาจานพาวเวอร์มิเตอร์ไปแล้วสำหรับการเชื่อมต่อได้ทั้งบลูทูธและ ANT+ หนึ่งในสำคัญของเฮดยูนิตคือมันสามารถแสดงจำนวนข้อมูลที่ทำการเชื่อมต่อให้คุณเห็นได้ในคราวเดียว แน่นอนว่าเฮดยูนิตหรือไมล์จักรยานที่คุณใช้ก็สามารถรองรับการเชื่อมต่อไร้สายได้ทั้งสองระบบเช่นกัน ซึ่งคุณสามารถตั้งค่าการแสดงค่าวัตต์จากพาวเวอร์มิเตอร์บนหน้าจอไมล์ได้เพื่อสร้างการรับรู้ในขณะฝึกซ้อมแต่ไม่ใช่ว่าทั้งหน้าจะตั้งไว้แค่ค่าเดียว ไมล์จักรยานในปัจจุบันสามารถตั้งค่าหน้าจอได้ด้วยตัวเองว่าในหนึ่งหน้านั้นจะให้แสดงผลค่าอะไรได้บ้าง

ถ้าคุณมีไมล์รุ่นเก่าที่ไม่สามารถรองรับการเชื่อมต่อที่หลากหลายและไม่สามารถเซ็ตค่าหน้าจอได้มากพอคุณควรพิจารณาซื้อเฮดยูนิตใหม่เพื่อการฝึกซ้อมได้เลย ฮ่าๆ ปัจจุบันเฮดยูนิตบางตัวเป็นหน้าจอสัมผัสในขณะที่บางรุ่นก็ใช้ปุ่มสำหรับควบคุมอินเตอร์เฟซแบบ Minidisplay หรือ อาจจะซื้อสมาร์ทวอชที่สามารถแสดงค่าต่างๆ ได้ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ นอกจากพาวเวอร์มิเตอร์แล้วคุณต้องให้ความสำคัญกับเฮดยูนิตด้วยเพราะมันคือตัวแสดงข้อมูลตัววัดค่าแสดงค่าต่างๆ พร้อมกับเรียกใช้ข้อมูลส่งออกข้อมูลให้คุณได้ใช้งานและนำไปวางแผนการฝึกซ้อม นี่คือสิ่งสำคัญสำหรับการเริ่มต้นใช้งานพาวเวอร์มิเตอร์ ให้คุณพยายามฝึกซ้อมไปเช่นเดิมก่อนสัก 7 ถึง 10 วัน และค่อยๆ สังเกตสิ่งที่เปลี่ยนไปสำหรับตัวคุณเองก่อน

ค่าพลังงานหรือค่าวัตต์ที่ได้พาวเวอร์มิเตอร์เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สุดที่คุณต้องให้ความสนใจ หากคุณสามารถปรับแต่งการแสดงผลเพื่อวางช่องข้อมูลไว้บนเฮดยูนิตคุณสามารถวางได้ทุกที่ที่คุณต้องการ เรียกว่าการวัดวัตต์ “WATTS” หรือ “PWR” ให้เซ็ตไว้ในสถานที่สำคัญหรือไว้ช่องใหญ่สุดเพื่อที่จะเห็นได้อย่างชัดเจนและมองเห็นได้อย่างรวดเร็วในขณะปั่นจักรยาน

ให้ความสนใจกับอัตราการเต้นของหัวใจ เพียงเพราะคุณมีพาวเวอร์มิเตอร์วัดพลังงานไม่ได้หมายความว่าคุณจะลืมอัตราการเต้นของหัวใจ มันยังเป็นข้อมูลที่มีค่ามากสำหรับการปั่นจักรยานเนื่องจากว่าอัตราการเต้นของหัวใจขึ้นอยู่กับแรงที่คุณใช้  ในคอนเทนต์ถัดไปจะมีวิธีเปรียบเทียบกำลังและอัตราการเต้นของหัวใจเพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงที่แม่นยำในการปั่นจักรยานอีกครั้ง แนะนำให้วาง “HR” ไว้ถัดจากช่องพาวเวอร์เพื่อให้สามารถมองเห็นและเปรียบเทียบได้ง่าย

ระยะเวลา หรืออื่นๆ นอกเหนือจากค่าวัตต์ เราแนะนำให้ตั้งหนึ่งช่องเป็นระยะทางหรือระยะเวลาในการปั่น สองค่านี้ควรจะแสดงอย่างเด่นชัดบนเฮดยูนิตคุณ คุณอาจเลือก “TIME” หรือ “MILES” ก็ได้มันควรจะมีไว้สำหรับช่องนี้ อาจมีตัวเลือกอื่นๆ อีก เช่น kiloJoules (“KJ”) ซึ่งเราจะอธิบายในภายหลัง แต่สำหรับเริ่มต้นใช้งานเราแนะนำ “TIME” หรือ “MILES” ก่อนจะดีกว่า เพราะว่ามันสามารถช่วยให้เราเทียบได้ระหว่างพลังงานและระยะทางทำให้สามารถรู้ได้ว่าปั่นไประยะทางเท่าไหร่แล้วจะเฉลี่ยแรงได้ยังไง

รอบขา เป็นค่าที่สำคัญอีกค่าสำหรับการตั้งค่าบนหน้าจอเฮดยูนิตซึ่งรอบขานั้นจะแปลผันได้กับความเร็ว และการฝึกซ้อมก็ใช้ค่านี้ควบคู่กับค่าวัตต์ได้ เช่นออกแรง 150 วัตต์ เราจะต้องปั่นรอบขาให้สูงขึ้นเพื่อให้จักรยานไปได้เร็วขึ้นและไม่ต้องออกแรงมากกว่านั้นเพื่อให้จักรยานไปข้างหน้าได้ไว

Altitude การปีนเขาเป็นหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญของการขี่จักรยานสำหรับนักกีฬาทุกคน ชุดเฮดยูนิตในปัจจุบัน ส่วนใหญ่อนุญาตให้คุณติดตามการปีนเขาโดยการตั้งค่าช่องฟิลด์เพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงระดับความสูงเป็นฟุตหรือเมตร (“ALT FT” หรือ “ALT MT”) หรือแสดงความชันของเส้นทางได้ (“%”) หรือจำนวนการปีนเขาที่คุณปั่นจักรยาน (“FT GAIN” หรือ “MTR GAIN”) เฮดยูนิตบางตัวใช้ Global Positioning ระบบ GPS สำหรับฟังก์ชั่นนี้ ในขณะที่บางตัวจะใช้ความกดดันของบรรยากาศบ่งบอก ซึ่งทั้งหมดมีความแม่นยำสำหรับการวัดระดับความสูง ในหน้าจอก็ควรจะมีหนึ่งช่องที่แสดงค่านี้เพื่อเอาไว้เทียบความชันของเส้นทางกับค่าวัตต์ที่คุณใช้

ความเร็ว นักปั่นส่วนใหญ่ตั้งเฮดยูนิตให้แสดงความเร็ว “MPH” หรือ “KPH” การได้เห็นว่าคุณไปเร็วแค่ไหนก็ค่อนข้างสำคัญเพราะว่าการใช้พาวเวอร์มิเตอร์ที่บ่งบอกแรงที่เราเหยียบลงไปในบันไดจักรยานนั้นทำให้เรารู้ได้ว่าเราออกแรงไปเท่านี้เราจะได้ไปเร็วแค่ไหน เพราะฉะนั้นความเร็วก็สำคัญสำหรับการตั้งค่าช่องบนเฮดยูนิตไว้แสดงผลเพื่อดูค่าในระหว่างการปั่น ในคอนเทนต์ถัดไปเราจะชี้ให้คุณเห็นว่าคุณสามารถใช้ความเร็วร่วมกับพลังงานในการก้าวขีดจำกัด

มีฟิลด์ข้อมูลอื่นๆ อีกมากมายที่เฮดยูนิตของคุณอาจจะสามารถแสดงได้ ขึ้นอยู่กับวิธีการตั้งค่า พาวเวอร์มิเตอร์ที่คุณใช้ อุปกรณ์เซ็นเซอร์อื่นๆ ของคุณว่ามีอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่นอาจมีวัตต์ต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว (“W / KG”), โซนพลังงานปัจจุบันที่คุณอยู่ใน (“ZONE”), พลังงานปกติ (” NORM PWR “), ความเครียดการฝึกอบรม  คะแนน (“TSS”) และ Intensity Factor (” IF “)  ค่าต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งที่สำคัญซึ่งมันจะสะท้อนถึงประสิทธิภาพในการปั่นของคุณ ซึ่งในเบื่องต้นค่าต่างๆ เหล่านี้ยังไม่ได้จำเป็นเท่าไหร่ คุณสามารถรอจนกว่าคุณจะรู้เกี่ยวกับค่าต่างๆ ให้มากขึ้นก่อนที่จะตัดสินใจว่าคุณต้องการที่จะแสดงค่าในหนึ่งหน้าหรือมากกว่านั้นในเฮดยูนิตของคุณ เพียงแต่คุณต้องเริ่มทำความเข้าใจเบื้องต้นไปทีละขั้นตอนก่อน